ฝึกสุนัข

สารบัญ

มีคำสั่งสำคัญห้าอย่างที่สุนัขทุกตัวควรรู้: นั่ง คอย หมอบ มา และชิด คำสั่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณสื่อสารสิ่งที่ต้องการกับสุนัข โดยเฉพาะการแสดงลำดับการสื่อสารอย่างชัดเจนกับสัตว์เลี้ยง การฝึกสุนัขไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์ใด จำเป็นต้องมีการฝึกให้สุนัขรู้จักและสามารถทำตามคำสั่งพื้นฐานให้ได้เสียก่อนและผู้ฝึกเองก็ควรใจเย็นและอย่าข้ามขั้นตอนเป็นอันขาด

1. ฝึกสุนัขให้สุนัขนั่ง

เริ่มการฝึกโดยสอนสุนัขให้รู้จักนั่งตามคำสั่ง

การนั่งเป็นรูปแบบของสุนัขที่สื่อถึงความสุภาพ มันเป็นท่าทางโดยธรรมชาติ แสดงว่าสุนัขตัวนั้นไม่ก้าวร้าวและมันเต็มใจที่จะเฝ้ารอ

  • เมื่อคุณย้ำคำสั่ง ‘นั่ง’ สุนัขจะเรียนรู้ว่าเวลาที่มันต้องการอะไรสักอย่าง หรือถ้าคุณกำลังยุ่ง การนั่งรอเป็นสิ่งถูกต้องที่จะทำ
  • เป้าหมายคือให้สุนัขได้เรียนรู้ว่ายามที่คุณออกคำสั่ง ‘นั่ง’ มันเป็นเวลาที่ต้องให้ความสนใจหรือสงบลง
  • ยืนเบื้องหน้าสุนัขของคุณ. คุณจะต้องแสดงความสงบแต่มีพลังแน่วแน่ เรียกความสนใจของสุนัขโดยจ้องตามัน เวลาที่คุณพูดขึ้นว่า “[ชื่อสุนัข], นั่ง,” ให้ถืออาหารเป็นของล่ออยู่เหนือจมูกของมัน
  • เพื่อที่จะมองเห็นของล่อ สุนัขจำต้องผงกหัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ก้นของมันลงไปที่พื้น

กล่าวชมเมื่อสุนัขนั่งลง

ทันทีที่มันนั่งลง พูดขึ้นว่า “นั่นแหละ!” แล้วให้ของล่อเป็นรางวัล เป้าหมายคือให้สุนัขเชื่อมโยงการกระทำ คำพูด หรือคำกับรางวัลและคำชม

เปลี่ยนรางวัลเป็นสัญญาณมือ

เมื่อสุนัขได้เรียนรู้คำสั่งด้วยเสียงแล้ว ให้หยุดการช่วยเหลือแล้วเริ่มใช้สัญญาณมือประกอบ เริ่มง่ายๆ โดยการวางฝ่ามือไว้ข้างหน้าหัวสุนัข ตอนที่สั่งว่า “นั่ง” ให้ดึงนิ้วมือขึ้นมากำเป็นกำปั้นหลวมๆ หรือยกขึ้นในท่าตัว J และจบลงโดยฝ่ามือหงายขึ้น

ทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคำสั่งทุกครั้ง

มันอาจจะใช้เวลาบ้าง โดยเฉพาะถ้าคุณฝึกสุนัขโตหรือสุนัขที่หัวทึบ อย่างไรก็ตาม อย่าท้อถอย! มันสำคัญมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสุนัขที่มันต้องทำตามการนำของคุณ นี่จะช่วยให้คุณอยู่ร่วมกันได้ และในที่สุดจะเป็นการทำให้สุนัขมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

เทคนิคฝึกสุนัข

2. สอนสุนัขให้คอย

สอนสุนัขให้ “คอย”

มีคำสั่งบางคำสั่งที่สามารถช่วยชีวิตสุนัขและคำสั่ง “คอย” ก็เป็นหนึ่งในนั้น การทำให้สุนัขไม่เข้าไปยุ่งกับสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เพื่อที่จะไม่ปล่อยให้มันเจอปัญหา สามารถทำได้โดยง่ายขึ้นเมื่อคุณฝึกให้สุนัขรู้จักคอยนิ่งๆ

ลูกสุนัขมีความเข้าใจตามสัญชาตญาณว่าจะต้องคอยอยู่นิ่งๆ เวลาที่ถูกข่มขู่และแม่สุนัขจะใช้คำสั่งให้ “คอย” เหมือนกัน ด้วยสัญชาตญาณผนวกกับการเริ่มฝึกแต่เล็กจะช่วยให้คุณฝึกสุนัขให้ทำตามคำสั่งคอยนิ่งๆ ได้ง่ายขึ้น

เริ่มฝึกสุนัขในท่า “นั่ง”

เวลาสุนัขนั่ง ให้ยืนโดยที่มันอยู่ทางข้างซ้ายของคุณมองไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนี้ท่านี้จะถูกอ้างถึงในฐานะท่า ‘ตั้งต้น’

จับปลอกคอสุนัขเอาไว้แล้วพูดว่า “[ชื่อสุนัข] คอย!”

. คุณควรทำเช่นนี้ในขณะที่วางฝ่ามืออยู่เบื้องหน้าสุนัขโดยไม่สัมผัสมัน ปลายนิ้วควรชี้ขึ้นและฝ่ามือควรจะประจัญหน้ากับสุนัข รอสองวินาที ถ้าสุนัขไม่ขยับไปไหน ให้บอกออกมาว่า “ใช่!” แล้วให้รางวัลแก่มัน

ถ้ามันลุกขึ้น ให้บอกว่า “อุ๊บ!” แล้วเริ่มต้นใหม่ เริ่มด้วย “นั่ง” แล้วค่อยออกคำสั่งอีกครั้งให้ “คอย”

ทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขของคุณคอยอยู่กับที่อย่างน้อยสิบวินาทีแล้วจึงค่อยชมเชยมัน นี่หมายความว่าคุณอาจจำต้องเริ่มกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นหลายต่อหลายครั้ง

ค่อยๆ เพิ่มจำนวนเวลาที่คุณให้สุนัขคอย.

พอสุนัขเริ่มเรียนรู้คำสั่งนี้ได้ดี คุณก็เริ่มเพิ่มระยะเวลาในขณะที่ค่อยๆ ถอยห่างออกมาตอนที่มันคอย หากสุนัขลุกขึ้นมา ให้ย้อนกลับไปตอนท่านั่งและทำกระบวนการช่วงนี้ซ้ำ จนกระทั่งคุณสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อิสระระหว่างที่สุนัขคอยอยู่นิ่งๆ

คุณควรมีคำสั่งเฉพาะให้สุนัขออกจากคำสั่งคอยอย่างเช่น “โอเค!” หรือ “มานี่” วิธีนี้สุนัขจะรู้ว่าเมื่อไหร่มันถึงขยับตัวได้

3. สอนสุนัขให้หมอบ

สอนสุนัขให้หมอบ

“หมอบ” มักจะใช้รวมกับ “คอย” และตั้งใจให้เป็นคำสั่งที่แรงขึ้น หมอบจะเป็นการหยุดการกระทำทุกอย่างก่อนหน้าที่กำลังทำก่อนออกคำสั่งนี้ ดังนั้นมันจึงมีประโยชน์ในการควบคุมพฤติกรรม

อีกครั้งให้สุนัขเริ่มที่ท่า ‘นั่ง’

เมื่อคุณพูดว่า “[ชื่อสุนัข], หมอบ!,” ให้ยื่นมือซ้ายไปเหนือหัวสุนัข โดยคว่ำฝ่ามือไปที่พื้น ส่วนมือขวาถือรางวัลและลดมือลงไปที่พื้นช้าๆ โดยให้อยู่ใกล้ๆ กับตัวสุนัข

ให้แรงเสริมแก่สุนัขเมื่อมันสามารถทำตามคำสั่งได้สำเร็จ

พอทั้งบั้นท้ายกับศอกของสุนัขแนบลงแตะพื้น ให้พูดว่า “ใช่!” และให้รางวัล มันจะทำให้ในใจของสุนัขเกิดความเชื่อมโยงระหว่างการกระทำกับรางวัล

ทำกระบวนการทั้งหมดซ้ำหลายๆ ครั้ง

การทำซ้ำเป็นกุญแจสำหรับการเรียนรู้และทำตามคำสั่งของสุนัข เป้าหมายคือให้สุนัขได้ทำตามคำสั่งคุณไม่ว่ามันจะกำลังทำอะไรอยู่ในตอนที่คุณออกคำสั่ง ด้วยวิธีนี้ทำให้หากสุนัขกำลังเล่นซุกซนอะไร คุณสามารถหยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างรวดเร็วและได้ผล

ก็เหมือนกับคำสั่งอื่นๆ ถ้าสุนัขไม่ทำตามคำสั่งหรือทำอย่างอื่น ให้เริ่มตั้งแต่ต้นใหม่ จับสุนัขมาอยู่ในท่านั่งอีกครั้งและเริ่มจากแรก

4. สอนสุนัขให้มา

สอนสุนัขให้มาเวลาคุณเรียกมัน

คำสั่ง “มา” รู้จักกันในอีกชื่อว่า “กลับ” ก็เหมือนคำสั่งพื้นฐานอื่นๆ ให้เริ่มโดยสุนัขอยู่ในท่า “นั่ง”

ดึงสุนัขเข้าหาตัวคุณเบาๆ ในระหว่างที่พูดว่า “[ชื่อสุนัข], มา!”

คุณควรทำเช่นนี้ด้วยน้ำเสียงกระตุ้นมากกว่าที่ใช้ในคำสั่งอื่น เพราะคุณต้องการให้สุนัขอยากเข้ามาหาคุณ ออกท่าทางประกอบคำสั่งเพื่อแสดงให้สุนัขเห็นว่าคุณต้องการอะไร

ใช้รางวัลล่อสุนัขเข้ามา

พอคุณได้แสดงให้สุนัขรู้ว่าต้องเข้ามาอย่างไรและคุณจะออกคำสั่งแบบใด ให้วางอาหารสุนัขไว้ตรงเท้าแล้วชี้ให้สุนัขเห็น หลังจากนั้นไม่นาน แค่กิริยาการชี้ไปที่พื้นข้างหน้าคุณก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้น จะใช้เพียงคำสั่งหรือท่าชี้นิ้วอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้สุนัขทำตามแล้ว

ส่งเสริมการกระทำด้วยคำชม. เวลาสุนัขเข้ามาหาคุณ ให้ชมมันโดยใช้ประโยคว่า “มาได้ดีมาก!” ตบหัวมันเบาๆ แสดงให้สุนัขรู้ว่าคุณพึงพอใจกับสิ่งที่มันเพิ่งทำลงไป

ฝึกคำสั่งนี้ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน. เวลาเล่นกับสุนัข ใช้โอกาสนี้เรียกมันข้ามห้องโดยใช้ชื่อมันแล้วบอกว่า “มา!” พร้อมกล่าวชมเมื่อมันวิ่งมาถึง นี่จะทำให้สุนัขคุ้นเคยกับคำสั่ง

5. สอนสุนัขให้ชิด

สอนสุนัขให้ “ชิด”

คำสั่งนี้เป็นหนึ่งในคำสั่งที่ซับซ้อนสำหรับจะสอน อย่างไรก็ตาม สุนัขส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ถ้าคุณฝึกอย่างต่อเนื่อง การสอนสุนัขคู่ใจให้ชิดจะช่วยปัญหาเรื่องหลังกับไหล่ของคุณ ช่วยเรื่องต้นคอของสุนัข และให้ทั้งคู่เกิดความภาคภูมิใจ (ถึงแม้สุนัขจะไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องความภาคภูมิใจนี้สักเท่าไหร่)

  • โดยธรรมชาติแล้วสุนัขของคุณอาจอยากจะวิ่งเหยาะๆ และอยากจะซอกแซกไปทางโน้นทีทางนี้ที คุณจะต้องแสดงให้มันเห็นว่าบางเวลาก็อนุญาตให้ไปสำรวจโน่นนี่ได้และบางเวลาก็ห้ามทำเช่นนั้น

จับสุนัขมาเริ่มที่ท่านั่ง. ใช้สายจูงปกติ ให้สุนัขอยู่ในท่า “นั่ง” ข้างขาซ้ายของคุณ โดยหันหน้าไปทางเดียวกับคุณ นี่คือท่าที่รู้จันกันในชื่อ ท่า “ตั้งต้น”

  • ให้ใช้ด้านซ้ายเสมอเพื่อป้องกันสุนัขสับสน

บอกสุนัขให้ “ชิด”

พูดว่า”[ชื่อสุนัข], ชิด!” ระหว่างที่ก้าวไปข้างหน้าด้วยเท้าซ้าย การเริ่มต้นด้วยเท้าซ้ายจะกลายเป็นสัญญาณว่าได้เวลาเดินหน้า สุนัขอาจขัดขืนหรือรีบเดินแซงหน้าไป ในกรณีทั้งคู่นี้ให้กระตุกสายจูงรั้งไว้เบาๆ และทวนคำสั่ง “ชิด” ใหม่

แนะนำสุนัขให้อยู่ข้างๆ คุณ. ถ้ามันอยู่ห่างออกไปทางด้านข้าง ให้ตบไปที่ขาของคุณแล้วบอกว่า “ไปพร้อมฉัน!” หรือ “มานี่!” หรือคำสั้นๆ อื่นๆ ให้พูดคำๆ เดิมสำหรับการสื่อความหมายเฉพาะอย่างเสมอ

แก้พฤติกรรมที่ผิด

ถ้าสุนัขเดินแซงไปข้างหน้า พูดว่า “ไม่, [ชื่อสุนัข], ชิด” ด้วยน้ำเสียงนิ่งสงบ ถ้าหากจำเป็นก็ให้กระตุกสายจูงได้ เวลาที่คุณหยุด ให้หยุดด้วยเท้าซ้ายเสมอ และพูดว่า “[ชื่อสุนัข], นั่ง” ถ้าสุนัขเดินนำหน้าอีกแล้ว ให้ดึงเบาๆ หรือสั่งให้มันหยุดข้างเท้าซ้ายคุณโดยใช้คำสั่ง “นั่ง”

  • ถ้าทุกอย่างดูควบคุมไว้ไม่ไหว ให้หยุดแล้วสั่งสุนัขให้อยู่ในท่านั่งข้างคุณอีกครั้งหนึ่ง กล่าวชมเชยแล้วเริ่มต้นใหม่ คุณควรปรับสุนัขให้เข้ากับตำแหน่งของคุณเสมอ ไม่ใช่ปรับตำแหน่งตัวคุณเองให้ไปอยู่ข้างสุนัข (ถ้าคุณปรับไปตามมัน จะกลายเป็นสุนัขได้ฝึกมนุษย์ให้มาเชื่อฟังมันแทน)
  • คุณควรให้สุนัขคุ้นเคยกับการไม่รู้สึกรั้งตึงจากสายจูงเว้นเสียแต่ว่าคุณกำลังแก้ไขพฤติกรรมของมัน มิฉะนั้นสุนัขจะเคยชินกับการถูกสายจูงรั้งไว้ในที่สุด ให้แก้ไขพฤติกรรมโดยใช้เสียงและท่าทาง ให้ใช้สายจูงช่วยเฉพาะตอนที่มันไม่ฟัง

กล่าวชมเชยเวลาที่สุนัขชิด

คุณอาจเอ่ยชมสุนัขเวลาที่มันมาชิดได้ดี แต่ลดระดับความยินดีลงเพื่อไม่ทำให้มันเสียสมาธิ พอมันเริ่มเชื่อฟังเสียงคำสั่งอย่างต่อเนื่องแล้ว ให้เงียบและจะใช้เสียงออกคำสั่งเฉพาะตอนแก้ไขให้ถูกเท่านั้น

  • ระยะเวลาที่ใช้เรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับสุนัขแต่ละตัว ฉะนั้นอย่าเร่งให้รุดหน้าไวๆ

สอนสุนัขให้นั่งเวลาที่คุณหยุดเดิน. เมื่อคุณพร้อมจะหยุดเดิน คุณควรหยุดด้วยเท้าซ้ายและพูดว่า “[ชื่อสุนัข], นั่ง” หลังจากทำซ้ำไม่กี่ครั้งคุณก็น่าจะไม่ต้องใช้คำสั่งนั่งแล้ว สุนัขจะเรียนรู้ว่าการหยุดด้วยเท้าซ้ายคือสัญญาณให้มันหยุดนั่ง

ฝึกคำสั่งผ่านทางท่าทางอย่างเดียว

เมื่อสุนัขเชื่อฟังคำสั่ง “ชิด” ได้ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ให้เริ่มการออกเดินด้วยเท้าซ้ายแบบไม่ทันตั้งตัวและหยุดโดยไม่ต้องออกเสียงสั่งหรือใช้ภาษามือ นอกจากนี้ เมื่อสุนัขอยู่ในท่า “เริ่มต้น” บางครั้งก็ให้ออกเดินด้วยเท้าขวา สุนัขอาจจะอยากตามคุณออกมา ฉะนั้นให้ใช้คำสั่ง “คอย” และเดินอ้อมหลังสุนัขกลับมายังท่า “ตั้งต้น”

  • อีกทางเลือกให้ก้าวเดินด้วยเท้าซ้ายและใช้คำสั่งชิด จากนั้นหยุดเดินด้วยเท้าขวาและใช้คำสั่งคอย หลังจากนั้นไม่นานคุณจะพัฒนาไปถึงขั้นสามารถสลับก้าวเท้าเดินได้ตามสะดวกและย้ำพฤติกรรมของการ “ชิด” หรือ “คอย” ได้ เมื่อคุณกับสุนัขเรียนรู้ได้คล่องแคล่วแล้ว คุณจะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ราบรื่นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

พาเจ้าตูบออกนอกบ้านอย่างไร ไม่ให้มีปัญหา?

บ่อยครั้งที่เจ้าของสุนัขมักจะต้องคิดหนัก เมื่อจะต้องพาสุนัขของตนออกนอกบ้านเพื่อจะไป ณ.สถานที่ที่น้องหมาไม่คุ้นชิน หรือต้องพบปะผู้คนหรือสุนัขแปลกหน้าและสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไปจากทุกวัน เพราะสิ่งดังกล่าวจะทำให้สุนัขตื่นกลัวหรืออาจแสดงอาการก้าวร้าวได้ วันนี้ เรามีวิธีปราบพยศเจ้าตูบและควบคุมสถานการณ์เพื่อให้การออกไปนอกบ้านไม่สร้าง ปัญหาให้กับคุณ

รู้หน้าหรือจะสู้ รู้นิสัยจากสายพันธุ์

ก่อนอื่นเจ้าของต้องทำความเข้าใจ ลักษณะนิสัยของสุนัขของตน ที่ถูกถ่ายทอดตามลักษณะสายพันธุ์ ซึ่งโยงไปถึงพฤติกรรมการแสดงออก เช่น สุนัขสายพันธุ์เทอร์เรีย จะมีลักษณะความเป็นผู้นำค่อนข้างสูง ร่าเริง เมื่อต้องเจอสุนัขแปลกหน้า มักชอบที่จะท้าทายสุนัขตัวอื่นเสมอ เมื่อเจอสุนัขที่มีความเป็นผู้นำเหมือนกัน มันจะเกิดอาการข่มขู่หรือวางมวยกันได้ ดังนั้นเจ้าของต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ที่สำคัญต้องเบนความสนใจของสุนัขก่อนจะเกิดเหตุตะลุมบอน เช่น ให้สุนัขหันมาสบตากับเจ้าของ ซึ่งนั่นจะทำให้สุนัขสงบลง

ทั้งนี้ลักษณะนิสัยของสุนัขโดยทั่วไป จะไม่ชอบการประจันหน้า อย่างเช่น เวลามีคนเดินเข้าไปหาเขาโดยตรง เขาก็จะคิดว่าเป็นการท้าทาย สุนัขจะกระโจนหรือวิ่งเข้าใส่ เพราะคิดว่าเราคือศัตรู แต่หากเราเข้าไปยืนข้างๆ สุนัขจะรู้สึกได้ว่าเรามาอย่างเป็นมิตร เขาก็จะให้ความเป็นมิตรด้วย

ใช้โทนเสียงสยบพฤติกรรม ห้ามใช้อารมณ์

ในความเป็นจริงแล้ว สุนัขจะไม่เข้าใจในภาษาที่เจ้าของสั่งแต่จะเข้าใจตามโทนเสียงและลักษณะอาการ ที่สั่ง เช่น ถ้าเจ้าของสั่งให้ทำด้วยโทนเสียงราบเรียบ และเมื่อทำตาม เจ้าของกล่าวชื่นชมและลูบตามลำตัวด้วยโทนเสียงสูงสุนัขจะจำ ในขณะที่หากใช้โทนเสียงดัง ต่ำ เมื่อสั่งให้หยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เจ้าตูบจะจดจำทันที ดังนี้นเมื่อหัดให้น้องหมาได้เข้าใจถึงโทนเสียงและอากัปกิริยาที่ต้องการให้เขาทำ เขาจะจำและทำตามทุกครั้ง ดังนั้นการใช้โทนเสียงกับสุนัขควรใช้เสียงที่ค่อนข้างขึงขังและหนักแน่น หากเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากช่องท้องโดยตรงจะยิ่งทำให้เสียงมีพลังในการสั่ง สุนัขจะเชื่อฟังเพราะจะทำให้สุนัขเข้าใจว่าเจ้าของคือนายและสามารถควบคุมเขาได้ แต่ถ้าหากเจ้าของปฏิบัติต่อเขาเหมือนเพื่อน เขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนั้นเขาก็จะไม่ฟังคำสั่งจากเจ้าของเลย เช่นเดียวกัน เมื่อเจ้าของใช้โทนเสียงสูง สุนัขจะเข้าใจได้ว่าขณะนั้นเจ้าของกำลังมีความสุข เขาก็จะตอบสนองด้วยการกระดิกหาง เพื่อแสดงให้เจ้าของเห็นว่าเขาก็มีความสุขด้วยเช่นกัน

สำหรับใครที่ต้องการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่สุนัข ต้องการหยุดพฤติกรรมก้าวร้าว แสดงอำนาจเหนือ ไม่ให้ใส่สายจูง ไม่เชื่อฟังคำสั่งของสุนัข แต่ไม่มีเวลาในการฝึกและมีความอดทน หักห้ามใจไม่มากพอ Jojo House Dog Master ยินดีเป็นตัวแทนของคุณในการช่วยสร้างลักษณะนิสัยที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข เพราะเราเข้าใจจิตวิทยาของสุนัข ทำให้เราสามารถฝึกสุนัขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยืนยันจากเจ้าของสุนัขที่เคยนำสุนัขมาฝึก, รางวัลและความไว้ใจจากสื่อต่างๆอีกมากมาย

หมา

เคล็ดลับ

  • สุนัขชอบรางวัลและมักมีแรงกระตุ้นได้ดี เช่น ทันทีที่สุนัขนั่งเองเป็นครั้งแรก ให้รางวัลหรือถูบริเวณท้อง เมื่อสุนัขเชื่อมโยงการนั่งกับรางวัลได้ มันก็จะทำตามได้ง่าย
  • ให้ฝึกสุนัขในตอนแรกๆ ในบ้านหรือใช้สายจูงถ้าอยู่นอกบ้านและอยู่ในที่เงียบๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนสุนัข หลังจากมันเรียนรู้คำสั่งได้ดีแล้ว จึงค่อยเริ่มฝึกในสถานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้สุนัขยังคงรับฟังคำสั่งแม้จะมีสิ่งดึงดูดใจ
  • เป็นการดีถ้าจะฝึกตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข แต่สุนัขโตแล้วก็ฝึกได้เช่นกัน แต่อาจต้องใช้เวลานานหน่อยในการสลายพฤติกรรมไม่ดีก่อน
  • ให้แน่ใจเสมอว่าการฝึกนั้นไม่ยากเย็นจนเกินไปและสุนัขยังสนุกได้! มิเช่นนั้น สุนัขอาจไม่อยากมีส่วนร่วมกับการฝึกเลย

คำเตือน

  • อย่าแสดงอาการโมโหหรือหงุดหงิดในระหว่างการฝึก มันจะไปทำสุนัขสับสนและรู้สึกกลัว ทำให้การฝึกกลายเป็นประสบการณ์ด้านลบไปสำหรับคุณทั้งสองฝ่าย ถ้าเริ่มโมโห ให้ข้ามไปหรือย้อนกลับไปออกคำสั่งที่สุนัขทำตามได้ดี และให้จบการฝึกในเชิงบวก
  • อย่าปล่อยให้สุนัขเอาเปรียบคุณ ให้ทำกับสุนัขอย่างนุ่มนวลแต่หนักแน่น
  • อย่าเลื่อนหรือหยุดการฝึก สุนัขนั้นจะฝึกง่ายที่สุดตอนยังเป็นลูกสุนัขมากกว่าตอนโตเต็มวัยแล้ว
  • พยายามอย่าให้มีคนหลายคนอยู่ด้วยในระหว่างที่ฝึก ถ้าสุนัขได้ยินเสียงหลายๆ เสียงพร้อมกัน มันจะสับสน
  • อย่าปล่อยสุนัขหลุดจากสายจูงจนกว่ามันจะทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง 100% สุนัขแค่ไม่เชื่อฟังคำสั่งหนเดียวและหลุดจากการควบคุมของคุณ คุณถึงจะเข้าใจว่าคุณไม่สามารถบังคับในสิ่งที่คุณไล่จับไม่ได้ คุณจำต้องมีอำนาจบังคับอย่างหนักแน่นก่อนจะสามารถเริ่มปล่อยสุนัขออกเดินโดยไม่ต้องพึ่งสายจูง
  • อย่าตำหนิหรือบังคับสุนัขเวลาที่มันเข้ามาหาคุณตามคำสั่ง ไม่ว่าจะอย่างไรเสมอ! ถึงแม้ว่าสุนัขจะไม่เชื่อฟังคำสั่งก่อนหน้าที่มันจะมา ข้อเท็จจริงก็คือการที่มันเชื่อฟังคำสั่งสุดท้ายของคุณจะเป็นสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงกับการทำตามที่บังคับไว้ ไม่งั้นมันจะเป็นการให้สัญญาณที่สับสน

บทความน่าสนใจ 10 สายพันธุ์สุนัข ที่นำไปเลี้ยงแล้วจะมีแต่รอยยิ้ม

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://th.wikihow.com

https://www.jojohouse.com

https://www.purina.co.th