สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวกำพร้า

ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง, วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง, แมว

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวกำพร้า

ลูกแมว

การดูแลลูกแมวเกิดใหม่ที่กำพร้าอาจจะทำให้คุณรู้สึกสุขใจอยู่บ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายในขณะเดียวกัน มนุษย์นั้นไม่ใช่ผู้ที่จะมาแทนที่แม่แมวได้ดีเลย และการดูแลป้อนนมลูกแมวนั้นเป็นงานที่ต้องทำตลอดเวลา แม้แม่แมวจะสุขภาพไม่ดีและไม่สามารถที่จะดูแลลูกแมวได้ หรือมันได้ทอดทิ้งลูกแมวไป ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ลูกแมวต้องได้รับการดูแลจนกระทั่งมันเติบโต

สร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการดูแลลูกแมว

คุณจะต้องสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการดูแลลูกแมวและเรียนรู้ที่จะดูแล

เรียนรู้วิธีการจับแมว

หมั่นล้างมือเสมอก่อนและหลังจับลูกแมว เพราะว่าลูกแมวอาจจะมีพาหะนำโรคบางอย่าง และพวกมันอาจจะอ่อนแอกับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่อยู่บนมือของคุณ เมื่อคุณอุ้มลูกแมว ให้อุ้มมันด้วยความระมัดระวัง ตรวจดูเสมอว่าพวกมันรู้สึกอุ่นโดยดูที่อุ้งเท้าของมันว่าเย็นหรือไม่ ถ้าลูกแมวเป็นหวัด พวกมันอาจจะร้องงอแง

  • ถ้าคุณมีสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ขอให้แน่ใจว่าได้แยกมันออกจากลูกแมวกำพร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อย่าให้พวกมันใช้กระบะขับถ่าย ถ้วยอาหารหรือน้ำ ร่วมกัน เพราะมันสามารถแพร่อาการเจ็บป่วยได้

ทำให้มันอบอุ่น

ลูกแมวแรกเกิด (อายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์) ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของมันได้และโดยปกติแล้วจะต้องนอนอิงแอบซุกแม่แมวเพื่อทำให้ตัวเองอุ่น เพราะว่าลูกแมวกำพร้าไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ให้หาแผ่นให้ความร้อนที่ออกแบบมาสำหรับลูกสุนัขและลูกแมว ให้ลูกแมวนอนบนแผ่นให้ความร้อน ต้องแน่ใจว่าอย่าให้ลูกแมวนอนที่แผ่นนั้นโดยตรง จะต้องมีผ้าขนสัตว์ปูคลุมไว้ก่อน ถ้าเกิดว่าไม่มีผ้าขนสัตว์ ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวพันรอบแผ่นให้ความร้อนแทน

  • ลูกแมวไม่ควรนอนที่แผ่นให้ความร้อนโดยตรง เพราะว่ามันอาจจะโดนความร้อนเผาหรือมันอาจจะรู้สึกร้อนเกินไป
  • คุณสามารถใช้ผ้าเช็ดตัวพันรอบกระติกน้ำร้อนแทนก็ได้ แต่ให้ตรวจดูบ่อยๆ ว่ามันยังอุ่นอยู่ (ประมาณ 37 องศาเซลเซียส)

หาที่นอนนุ่มๆ ให้ลูกแมว

วางกล่องหรือกรงแมวไว้ตรงที่ที่เงียบและห่างไกลผู้คนในบ้านของคุณ ห้องที่คุณจะวางกล่องลูกแมวจะต้องอุ่นและไม่มีกระแสลม และจะต้องอยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ปูผ้าเช็ดตัวภายในกล่องเพื่อให้ลูกแมวพักผ่อนอย่างอุ่นสบาย คุณควรที่จะใช้ผ้าเช็ดตัวปิดกล่องหรือกรงแมวด้วยเพื่อให้อุ่นมากขึ้น

  • ขอให้แน่ใจว่าไม่ได้ใช้ผ้าขนหนูปิดรูระบายอากาศบนกล่องหรือที่กรง เพื่อไม่ให้ลูกแมวขาดอากาศหายใจ

ให้ลูกแมวอยู่ด้วยกัน

คุณไม่จำเป็นต้องจับลูกแมวให้นอนแยกกล่องหรือแยกกรง ให้ลูกแมวนอนที่เดียวกัน นี่จะช่วยให้ลูกแมวนอนได้อุ่นและสบาย แน่ใจว่ามีพื้นที่เพียงพอที่ลูกแมวสามารถเดินเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้

  • ตัวอย่างเช่น ลูกแมวสามารถเดินไปนอนที่ริมแผ่นให้ความร้อนได้ถ้ามันรู้สึกร้อนไป
ลูกแมว

ป้อนนมลูกแมว

ป้อนนมให้ลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 3 สัปดาห์อย่างถูกต้อง

ซื้อนมผงสำหรับลูกแมว

ซื้อนมผงสำหรับลูกแมวที่ผลิตมาเพื่อใช้แทนนมแมวจริงๆ เช่น ยี่ห้อ KMR ซึ่งหาซื้อได้จากคลินิกรักษาสัตว์ ร้านค้าขายของสำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ หรือสั่งจากอินเตอร์เน็ต นี่ก็จะคล้ายๆ กับมนุษย์ที่มีนมสูตรสำหรับทารก โดยนมผงนี้จะมีองค์ประกอบที่เหมือนกับน้ำนมแมว อย่าป้อนนมวัว เพราะในนมวัวมีน้ำตาลและแลคโทส ซึ่งอาจจะทำให้ลูกแมวปวดท้อง

  • ถ้าคุณไม่มีนมที่ใช้แทนนมแมวและลูกแมวก็กำลังหิว ให้ป้อนมันด้วยน้ำต้มที่เย็นแล้วโดยใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์จนกว่าคุณจะสามารถไปที่คลินิกสัตว์หรือร้านค้าขายของสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ น้ำจะทำให้ลูกแมวอิ่มน้ำและจะไม่ปวดท้อง

เตรียมตัวป้อนนมลูกแมว

ล้างขวดนมและจุกนมด้วยน้ำที่ต้มแล้วเพื่อฆ่าเชื้อโรค วางบนผ้าขนหนูที่สะอาดและทิ้งให้เย็นสนิท ผสมนมสำหรับลูกแมวโดยตีนมเล็กน้อยเพื่อให้นมไม่จับตัวเป็นก้อน คุณควรที่จะนำนมไปอุ่นให้มีอุณหภูมิประมาณ 35-37 องศา ก่อนที่จะป้อนลูกแมว ในการตรวจสอบว่านมสามารถใช้ได้ก่อนนำไปป้อน ให้หยดนมลงไปที่ใต้ข้อมือของคุณเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่ร้อนเกินไป

  • แต่แน่ใจเสมอว่าลูกแมวนั้นมีร่างกายที่อบอุ่นก่อนที่จะป้อนนมมัน อย่าป้อนนมให้ลูกแมวที่มีอุณหภูมิน้อยกว่า 35 องศา ที่จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบจากการสำลัก ซึ่งจะทำให้ลูกแมวหายใจลำบากและอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

จัดตำแหน่งของลูกแมวและขวดนมให้ถูกต้อง

อย่าอุ้มลูกแมวและป้อนนมมันเหมือนเด็กทารก ให้ขาของลูกแมวลดต่ำลงและให้หัวของลูกแมวอยู่ตรงๆ แทน ราวกับว่าพวกมันกำลังกินนมแม่แมว จับลูกแมวที่หลังคอและป้อนนมโดยให้จุกนมไปอยู่ที่ด้านข้างก่อน จากนั้นขยับให้อยู่ตรงกลางปากของลูกแมว ลูกแมวจะขยับจนกว่ามันจะกินนมได้อย่างสบายๆ ให้ลูกแมวควบคุมการดูดนมเอง อย่าพ่นนมออกมาหรือบังคับให้นมเข้าไปในปากของลูกแมว

  • อย่าลืมทำให้ลูกแมวเรอหลังจากที่มันกินนมเสร็จแล้ว ทำให้ลูกแมวเรอเหมือนที่ทำกับเด็กทารก อุ้มลูกแมวให้อยู่ที่หน้าอก ตัก หรือหัวไหล่ ลูบลูกแมวเบาๆ และใช้นิ้ว 2 นิ้วตบหลังลูกแมวเบาๆ จนลูกแมวเรอออกมา
  • ถ้าลูกแมวมีปัญหาในการงับจุกนมขวดเข้าไป ให้จับใบหน้าของลูกแมวและอย่าให้มันขยับหัว ลองป้อนนมมันอีกครั้งและลองบีบให้นมออกมา 2-3 หยด ลูกแมวก็จะงับจุกนมและกินนมได้

ป้อนนมลูกแมวบ่อยๆ

คุณจะสามารถบอกได้ว่าลูกแมวกำลังหิวถ้าลูกแมวร้องงอแงและเดินแกว่งไปมาราวกับว่ากำลังหาจุกนมอยู่ ลูกแมวจะกินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วงตลอด 2 สัปดาห์แรก จะดีที่สุดถ้าป้อนนมลูกแมวโดยใช้ขวดนมที่ออกแบบพิเศษให้มีจุกนมสำหรับลูกแมว (ออกแบบโดยบริษัท Catac) ให้ทำตามคำแนะนำที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ของนมสำหรับลูกแมวเพื่อกำหนดว่าควรจะป้อนนมลูกแมวปริมาณเท่าไหร่ต่อมื้อ ลูกแมวที่อิ่มแล้วจะผล็อยหลับไปขณะที่กำลังดูดนมอยู่และท้องจะป่อง

  • ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ใช้หลอดหยอดตาหรือไซริงค์เล็กๆ หยดนมใส่ปากลูกแมว
  • หลังจาก 2 สัปดาห์ไปแล้ว การป้อนนมลูกแมวสามารถยืดออกไปได้เป็นทุกๆ 3-4 ชั่วโมง และเว้นช่วง 6 ชั่วโมงในตอนกลางคืน

ดูแลลูกแมว

ช่วยลูกแมวขับของเสียและปัสสาวะ

โดยปกติแล้ว แม่แมวจะเลียที่อวัยวะเพศของลูกแมวหลังจากการป้อนนมในแต่ละครั้ง ซึ่งจะทำให้พวกมันขับถ่ายออกมา คุณจะต้องเช็ดที่ก้นของลูกแมวด้วยแผ่นสำลีที่ชุ่มน้ำอุ่นก่อนและหลังการป้อนนม นี่จะเป็นการกระตุ้นให้ให้ลูกแมวเกิดความอยากขับถ่าย ซึ่งมันจะไม่สามารถทำได้ถ้าไม่มีการกระตุ้นจนเมื่อมันมีอายุ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว วางลูกแมวบนผ้าห่มสะอาดๆ แล้วพลิกลูกแมวให้นอนขึ้น ใช้แผ่นสำลีที่เปียกชุ่มค่อยๆ เช็ดที่อวัยวะเพศของลูกแมว โดยเช็ดไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่เช็ดไปมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียดสีได้ คุณจะสังเกตได้ว่าลูกแมวจะเริ่มปัสสาวะหรือขับถ่ายของเสียออกมา เช็ดไปเรื่อยๆ จนลูกแมวหยุดขับถ่ายแล้ว มิเช่นนั้น ลูกแมวจะขับของเสียออกมาไม่หมด

  • ปัสสาวะของลูกแมวจะไม่มีกลิ่นและควรจะมีสีเหลืองซีดๆ อุจจาระของลูกแมวจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้าคุณสังเกตว่าอุจจาระของลูกแมวเป็นสีเขียวหรือสีขาว หรือปัสสาวะมีสีเข้มและส่งกลิ่นรุนแรง ลูกแมวอาจจะขาดน้ำหรืออาจจะต้องตรวจเช็คสุขภาพ

ทำความสะอาดลูกแมว

เมื่อคุณป้อนนมแล้วช่วยลูกแมวขับของเสียแล้ว คุณจะต้องทำความสะอาดมันด้วย ใช้ผ้าที่อุ่นชื้นเช็ดลูบขนของลูกแมว โดยลูบแค่สั้นๆ ขอให้แน่ใจว่าได้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดลูกแมวให้แห้งสนิทก่อนที่จะจับมันนอนในที่นอน

  • ถ้าคุณสังเกตว่ามีอุจจาระแห้งๆ ติดอยู่ที่ขนของลูกแมว ให้จุ่มก้นของลูกแมวลงไปยังอ่างน้ำอุ่นเบาๆ จากนั้นให้เช็ดอุจจาระออกอย่างระมัดระวังด้วยเศษผ้า

ชั่งน้ำหนักลูกแมว

ลูกแมวควรที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่อเนื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ขอให้แน่ใจว่าได้ชั่งน้ำหนักลูกแมวแต่ละตัวในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน และบันทึกน้ำหนักของพวกมันไว้ ลูกแมวจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสองเท่าใน 1 สัปดาห์หลังจากเกิดมา พวกมันควรที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นครึ่งออนซ์ (14.2 กรัม) ในแต่ละวันหลังจากสัปดาห์แรก ถ้าน้ำหนักลูกแมวไม่เพิ่ม หรือน้ำหนักลดลง มันอาจจะมีความปกติและต้องพาลูกแมวไปพบสัตว์แพทย์

  • ตัวอย่างเช่น ปกติแล้วลูกแมวจะมีน้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3.0-3.7 ออนซ์ (90-110 กรัม) ในช่วงที่ลูกแมวมีอายุ 2 สัปดาห์ ลูกแมวจะต้องมีน้ำหนักประมาณ 7 ออนซ์ (198.8 กรัม) เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ ลูกแมวควรจะมีน้ำหนัก 10 ออนซ์ (280.4 กรัม)

รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกแมวไปหาสัตว์แพทย์

เป็นเรื่องดีในการพาลูกแมวไปหาสัตว์แพทย์อย่างรวดเร็วเพื่อให้สัตว์แพทย์ตรวจเรื่องอาการขาดน้ำ หนอนแมลงวันหรือปรสิตที่อาจจะฝังตัวอยู่ในลูกแมว และเพื่อให้สัตว์แพทย์ตรวจสุขภาพทั่วไปให้เจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์บางคนอาจจะตรวจลูกแมวให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายถ้าคุณบอกเขาว่าคุณกำลังดูแลลูกแมวกำพร้าที่ชีวิตไว้ คุณควรที่จะรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรพาลูกแมวไปรักษากับสัตว์แพทย์ ให้พาลูกแมวไปหาสัตว์แพทย์ถ้าคุณสังเกตว่าลูกแมวมีอาการต่อไปนี้

  • อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป (มากกว่า 39.4 องศาหรือน้อยกว่า 37.2 องศา)
  • ไม่อยากอาหาร (ถ้าลูกแมวไม่กินอะไรเลยตลอดทั้งวัน ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)
  • อาเจียน (ถ้าเกิดขึ้นตลอดเวลา ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)
  • น้ำหนักลดลง
  • ไอ จาม และมีน้ำออกมาจากตาหรือจมูก
  • ท้องเสีย (ถ้าเกิดขึ้นตลอดเวลา ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)
  • หมดแรง
  • เลือดออกไม่ว่าจะตรงไหนก็ตาม (ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)
  • หายใจลำบาก (ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)
  • บาดเจ็บ เช่น ถูกลดชน ร่วงตกลงมา เดินกระโผลกกะเผลก ถูกเหยียบ หรือหมดสติ (ให้พาลูกแมวเข้ารับการตรวจฉุกเฉิน)

เคล็ดลับ

  • ในหลายเมืองมีโครงการในการทำหมันแมวและแมวจรจัด
  • ศูนย์ดูแลสัตว์เป็นสถานที่ที่ดีในการขอคำแนะนำและการบริการจากสัตว์แพทย์ในราคาไม่แพง และอาจจะช่วยให้คุณหาบ้านให้ลูกแมวเมื่อมันโตพอแล้ว บางคนก็ได้ช่วยเหลือเลี้ยงดูลูกแมวจนกระทั่งมันถูกรับเลี้ยงไป
  • ที่ที่ดีที่สุดสำหรับลูกแมวแรกเกิดคือการได้อยู่กับแม่ของมัน ถ้าเป็นไปได้ ลูกแมวดุร้ายควรจะออกห่างจากแม่ของมันเมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ให้สังเกตบริเวณที่แม่แมวคลอดลูกว่าลูกแมวนั้นกำพร้าหรือถูกทิ้งจริงๆ ก่อนที่จะเก็บมันมาดูแล บางครั้งแม่แมวอาจจะซุ่มอยู่ไม่ไกล ลูกแมวที่ถูกทอดทิ้งจะสกปรกและจะร้องงอแงเพราะอากาศหนาวเย็นและความหิว
  • ถ้าคุณพบลูกแมวแรกเกิดกำพร้าและไม่สามารถช่วยเหลือดูแลได้ หรือไม่รู้จักใครที่จะช่วยเหลือได้ ให้พามันไปที่องค์กรช่วยเหลือสัตว์หรือศูนย์ดูแลสัตว์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ องค์กรเหล่านี้จะรู้วิธีดูแลลูกแมวดีที่สุดถ้าคุณไม่มีข้อมูลอะไร
  • ถ้ามีแค่ลูกแมวตัวเดียว ให้หาตุ๊กตาตัวเล็กๆ ให้ลูกแมวกอดซุกไซ้ก็จะช่วยให้ลูกแมวอุ่นและทำให้มันนึกถึงแม่ของมันและพี่น้องตัวอื่นๆ
  • ใช้แปรงสีฟันเลียนแบบความสากของลิ้นแม่แมวที่เลียลูกแมวขณะที่ลูกแมวกินนมเสร็จ ใส่นาฬิกาเข็มแบบ ‘ติ๊กต๊อก’ ไปใน ‘รังพัก’ ของลูกแมว เพื่อจะได้กล่อมปลอบลูกแมว
  • ปล่อยให้ลูกแมวหลบซ่อนตัวและไม่ต้องบังคับให้มันทำอะไร มันจะเปิดใจให้กับคุณในที่สุด หากล่องใหญ่ๆ และใส่ที่นอนของลูกแมวลงไป เพื่อที่ลูกแมวจะได้มีพื้นที่ส่วนตัวและรู้สึกปลอดภัย
แมว
10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี สารบัญ10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี1. ฝึกการทำความสะอาด2. ฝึกการเดินรอบบ้าน3. ฝึกการยอมรับการตัดขน4. ฝึกการเล่นแบบสุขุม5. ฝึกการเชื่อฟัง6. ฝึกการเล่นกับเล่นแบบบ้านๆ7. ฝึกการตอบสนองกับการเข้ากับคนอื่น8....

read more
11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์ สารบัญ11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์1. ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์2. การบริการ3. ราคา4. มีที่ปรึกษา5. การรักษาความปลอดภัย6. การให้บริการอย่างเป็นระบบ7. สถานที่ใกล้บ้าน8. การให้ความรู้และการฝึก9. การให้บริการตลอด...

read more
สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก สารบัญสุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็กสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสำหรับเด็ก1. ประเภทของสัตว์เลี้ยง2. ความต้องการ3. ค่าใช้จ่าย4. เวลาและความสะดวก5. กฎหมายและข้อกำหนด6. การดูแลสุขภาพ7. การเลี้ยงและการดูแล8....

read more
9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา สารบัญ9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเราการเตรียมพร้อมและการดูแลสัตว์เลี้ยงวิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัว1. เริ่มต้นที่ รักและความเข้าใจ2. การเริ่มต้นการฝึกสอนเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้3....

read more
ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว สารบัญควรเลี้ยงสุนัขหรือแมวการเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับคุณการเลือกสภาพแวดล้อมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมจัดหาอุปกรณ์และอาหารเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมกับสไตล์ชีวิตและบ้านสรุป...

read more
5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง สารบัญ5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง1. การเลือกอาหารที่เหมาะสม2. การให้น้ำ3. การให้สถานที่หรือพื้นที่ในการเดินเล่นและการฝึกฝน4. การทำความสะอาดสถานที่อยู่ของแมว5. การดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม...

read more
10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ สารบัญ10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ1. ปรึกษาสัตวแพทย์2. การเลือกอาหารที่เหมาะสม3. การออกกำลังกาย4. การดูแลสุขอนามัย5. การสังเกตและระวังอาการผิดปกติ6. การให้ความรักและการติดต่อสัมพันธ์7. การเลือกอาหารที่เหมาะสม8....

read more
10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย สารบัญ10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย1. เริ่มต้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเราเอง2. ใช้การตัดสินใจที่เหมาะสม3. ให้การชี้แนะและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ4. การออกกำลังกาย5. การให้อาหารและน้ำดื่ม6. การเอาสุนัขไปเที่ยว7....

read more
8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง สารบัญ8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง1. ให้แมวอาหารที่เหมาะสม2. ให้น้ำเพียงพอ3. การดูแลสุขอนามัยของแมว4. การจัดสวนหรือการให้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับแมว6. การทำความสะอาดตัวของแมว7. ตรวจสุขภาพและรักษาโรค8. การให้วิตามินและอาหารเสริม...

read more
6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง สารบัญ6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง1. การให้อาหารและการเลี้ยง2. การออกกำลังกาย3. การสังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของสุนัข4. สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมรอบตัวของสุนัข5. สุขภาพทางจิตและพัฒนาการของสุนัข6. การสร้างสัมพันธ์และความเชื่อมั่นกับสุนัข...

read more
5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ สารบัญ5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ1. ฝึกสุนัขให้สุนัขนั่งเริ่มการฝึกโดยสอนสุนัขให้รู้จักนั่งตามคำสั่งกล่าวชมเมื่อสุนัขนั่งลงเปลี่ยนรางวัลเป็นสัญญาณมือทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคำสั่งทุกครั้ง2. สอนสุนัขให้คอยสอนสุนัขให้ "คอย"เริ่มฝึกสุนัขในท่า...

read more
สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง สารบัญสุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง1.สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน2.พันธุ์บางแก้ว สุนัขสายพันธุ์ไทย สำหรับคำว่าสุนัขนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงที่ อยู่คู่สำหรับใคร หลายคน ซึ่งเป็นความชอบ ในส่วนตัว ของแต่ล่ะคน ดังนั้น ความชอบของสุนัขนั้น มันมีจุดที่เรียกได้ว่า...

read more

สิวแมว รักษายังไงให้หาย

สิวแมว รักษายังไงให้หาย สารบัญสิวแมว รักษายังไงให้หายเมื่อแมวเป็นสิว  สัญญาณบอกว่าแมวเป็นสิว1. มองหาจุดดำเล็กๆ2. อะไรทำให้แมวเป็นสิวได้บ้าง3. ระวังอย่าให้สิวแมวติดเชื้อ4. สังเกตว่าคางแมวจับแล้วหนาๆ หยาบๆ หรือเปล่า.ตรวจให้แน่...

read more