วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิดให้แข็งแรง
ลองมาเลี้ยงลูกแมวกันไหม? ไม่ว่าจะถามเจ้าของแมวคนไหน ก็จะได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การมีลูกแมวในบ้านเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก แต่การเลี้ยงลูกแมวต้องมีความรับผิดชอบสูง และที่สำคัญต้องเรียนรู้วิธีการดูแลพวกเค้าอย่างถูกต้องด้วย
ดูแลลูกแมวแรกเกิดอย่างไรให้มีสุขภาพดี
เมื่อถึงคราวที่เราต้องกลายเป็นแม่แมวมือใหม่ สิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะคิดขึ้นมาเป็นสิ่งแรกก็คงไม่หนีไปจากการเลี้ยงเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่ง เพราะการดูแลลูกแมวตัวน้อยให้มีสุขภาพดี ได้รับการดูแล และฝึกฝนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และต้องเพิ่มเติมความรักความเอาใจใส่เข้าไปด้วย มาเรียนรู้วิธีการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี และมีความสุขไปด้วยกันด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้
ทำไมช่วงเดือนแรกของลูกแมวจึงสำคัญมาก?
วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิดให้แข็งแรง การดูแลอย่างเหมาะสมในช่วงเดือนแรกมีความสำคัญต่อพัฒนาการลูกแมว ตลอดจนความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดี นอกจากนี้การดูแลด้านโภชนาการและสภาพแวดล้อมก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ไม่เพียงแต่จำเป็นต่อพัฒนาการลูกแมวเท่านั้น แต่เพื่อความอยู่รอดของลูกแมวในช่วงแรกคลอดด้วย
เจ้าของแมวจำเป็นต้องเรียนรู้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกแมว ไปจนถึงวิธีการดูแลพวกเค้าอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยด้วย แล้วเราจะดูแลให้วิวัฒนาการลูกแมวเป็นไปอย่างเหมาะสม
ลูกแมวอายุ 0 – 4 สัปดาห์
ลูกแมววัยกระเตาะ อายุ 0-4 สัปดาห์ ถือเป็นแมววัยแรกเกิดที่ยังเป็นเบบี๋มากๆ ยังไม่หย่านม เป็นวัยที่ควรอยู่ในอ้อมอกของแม่แมวและพี่ๆ น้องๆ ตัวอื่นในครอกก่อน
พฤติกรรมและพัฒนาการ
- เจ้าเหมียวจะไม่มีพฤติกรรมอะไรมากมาย นอกจากใช้เวลาไปกับการกินและนอน มีขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เช่น การคลานไปรับความอบอุ่นและกินนมแม่เท่านั้น
- ยังไม่ได้ยินเสียงเรียก แต่จะส่งเสียงครางบ้างเล็กน้อย
- 5 วันแรกหลังคลอด ตาของเจ้าเหมียวทั้งสองจะยังปิดสนิทอยู่ ก่อนจะค่อยๆ ลืมตาขึ้นมาในช่วงอายุ 5 วัน ไปแล้ว
- น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นวันละ 10 – 30 กรัม
วิธีการเลี้ยง
- หลังคลอด ควรพาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคหรือความผิดปกติ
- พาไปถ่ายพยาธิทุกเดือน จนอายุครบ 6 เดือน
- ควรเลี้ยงในบริเวณที่แห้ง สะอาด มีอากาศถ่ายเท คนไม่พลุกพล่าน และมีไฟคอยส่องสว่าง เพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ชนิดอื่นๆ
- รักษาอุณหภูมิร่างกายของลูกแมวให้สูงกว่า 34 องศาเซลเซียส ห้ามอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียส ด้วยการเปิดไฟส่อง และใช้แผ่นปูรองนอนเพื่อเพิ่มความอบอุ่น
โภชนาการ
- ในระยะแรกนี้ ลูกแมวควรได้รับโภชนาการจากน้ำนมของแม่แมว เพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทาน ภูมิคุ้มกันและโปรตีน ดังนั้นการกินนมแม่จึงสำคัญมาก
- ควรได้รับน้ำนมจากแม่แมวในช่วง 18-24 ชั่วโมงแรกอย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ 2 ชั่วโมง
ลูกแมวอายุ 4 – 8 สัปดาห์
ลูกแมววัย 4-8 สัปดาห์ เป็นช่วงสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรมจากแม่แมว และเป็นเวลาของการหย่านม ลูกแมวในวัยนี้จะมีพัฒนาการที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
พฤติกรรมและพัฒนาการ
- เจ้าเหมียววัยนี้จะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับพี่ๆ น้องๆ ในครอกมากขึ้น เริ่มทำความสะอาดร่างกายเป็น เลียขนให้กันได้
- ร่าเริง สนุกสนานไปกับการวิ่งเล่น และการผจญภัยในโลกกว้าง
- เริ่มตะปบ และดมกลิ่นเพื่อสะกดรอยเป็น
- เรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมของแม่แมว
วิธีการเลี้ยง
- ลูกแมวจะเริ่มคล่องตัวในการเคลื่อนไหวมากขึ้น ต้องเตรียมของเล่นไว้ให้พร้อม และเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
- หมั่นอุ้มและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกแมวเยอะๆ จะช่วยให้แมวเติบโตอย่างมั่นใจ
- เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก ต้องให้ลูกแมวพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
- พาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและถ่ายพยาธิทุกเดือ
โภชนาการ
- เมื่อลูกแมวมีอายุย่างเข้าสัปดาห์ที่ 2 ฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้น และเริ่มสนใจอาหารของแม่แมวมากขึ้น ดังนั้น ควรให้ลูกแมวเริ่มหย่านมได้
- เลือกอาหารแมวชนิดเปียก คุณภาพดี สำหรับลูกแมว ที่มีสารอาหารสำคัญครบถ้วน มีโปรตีนสูง โอเมก้า-3 และทอรีน เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพ เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกแมว และที่สำคัญต้องย่อยง่าย ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายด้วย
ลูกแมวอายุ 2 – 4 เดือน
ที่สุดแห่งความซนเริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อลูกแมวเริ่มมีอายุ 2-4 เดือน วัยนี้เป็นแห่งการเจริญเติบโต เริ่มรู้จักพื้นที่ของตัวเองและเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ ที่จะกลายเป็นพฤติกรรมติดตัวต่อไป และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการย้ายบ้านใหม่
พฤติกรรมและพัฒนาการ
- ยังคงเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ โดยจะเลียนแบบพฤติกรรมจากพี่น้องร่วมครอก แม่แมวและพฤติกรรมของมนุษย์
- เจ้าเหมียวจะเริ่มรู้เรื่องและจำตำแหน่งของตัวเองในครอบครัวได้
- เริ่มแสดงพฤติกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะออดอ้อน ขี้เล่น หรือแสดงฤทธิ์เดชออกมานั้น ขึ้นอยู่การฝึกล้วนๆ
- ทาสแมวทั้งหลาย ต้องหมั่นเอาใจใส่ มอบความรักให้กับเจ้าเหมียว อย่าได้ขาดตกบกพร่องเด็ดขาด เพราะมีผลต่อพัฒนาการเติบโต
- เติบโตอย่างรวดเร็ว แล้วใช้พลังงานมากกว่าแมวโตเต็มวัยถึง 3 เท่า
วิธีการเลี้ยง
- ย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 12 คือช่วงที่เหมาะสมในการย้ายบ้านใหม่ สำหรับใครที่กำลังรับลูกแมวมาเลี้ยงในช่วงวัยนี้ ต้องเก็บบ้านช่องให้เรียบร้อย อย่าได้มีสายไฟ ของมีคมและวัตถุขนาดเล็กๆ ตกอยู่ในบ้าน ปิดหน้าต่าง กั้นระเบียงและบันไดให้เรียบร้อย รอรับความซนได้เลย
- ได้เวลาพาเจ้าเหมียวไปทำวัคซีนแล้ว! นี่คือช่วงเวลาที่ควรพาลูกแมวไปฉีดวัคซีนหลัก และวีคซีนเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ และเข้าโปรแกรมการดูแลสุขภาพ พร้อมถ่ายพยาธิด้วยนะ
โภชนาการ
- ด้วยช่วงวัยที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ ยังไม่สามารถย่อยอาหารบางประเภทได้ จึงควรเลือกให้อาหารแมว สูตรลูกแมวโดยเฉพาะ
- เลือกอาหารแมวที่ย่อยง่าย และมีสารอาหารจำเป็นครบถ้วน เพื่อให้แมวเติบโตได้อย่างสมวัยและแข็งแรง พร้อมเล่นสนุกในทุกๆ กิจกรรม
ลูกแมวอายุ 4 เดือนขึ้นไป
ช่วงเวลาเตรียมตัวก่อนเข้าสู่การเป็นวัยรุ่นของเจ้าเหมียว ลูกแมวอายุ 4 เดือนขึ้นไป คือช่วงเวลาแห่งการเติบโต จะพัฒนาการทางการที่ใกล้จะโตเต็มวัยอย่างเห็นได้ชัด และอาจเริ่มมีพฤติกรรมไม่น่ารัก เช่น การแสดงความเป็นเจ้าของ
พฤติกรรมและพัฒนาการ
- เริ่มแสดงออกถึงความเป็นใหญ่ และแสดงความเป็นเจ้าของ ด้วยการฉี่ หรือถูไถบริเวณบ้าน
- เป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการด้านฟัน และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยมีน้ำหนักประมาณ 80% ของแมวโตเต็มวัย
- พร้อมที่จะผสมพันธุ์ และเริ่มมีอาการติดสัด
วิธีการเลี้ยง
- หมั่นดูแลเอาใจใส่ มีพฤติกรรม กิจวัตรที่ทำกับลูกแมวเหมือนช่วงเกิดใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้
- เมื่อเจ้าเหมียวมีอายุครบ 6 เดือน และได้รับวัคซีนจนครบแล้ว สามารถพาไปเดินเล่น ผจญภัยนอกบ้านได้
- แบ่งช่วงเวลาพาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และอยู่ในบ้านให้เหมาะสม เพื่อให้เจ้าเหมียวคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม
- ด้วยวัยที่เติบโต พร้อมผสมพันธุ์นี้ เจ้าเหมียวจึงพร้อมสำหรับการทำหมัน เพื่อป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่น่ารักที่อาจตามมาได้
โภชนาการ
- เนื่องจากน้ำหนักตัว พฤติกรรมและขยับเข้าใกล้แมวโตเต็มวัย ทำให้เจ้าเหมียวต้องการอาหาร และปริมาณที่ใกล้เคียงกับแมวโตเต็มวัยที่สุด
- เลือกอาหารแมวคุณภาพ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย บำรุงขน บำรุงสายตา พัฒนาระบบประสาทและสมอง คำนึงถึงพลังงานที่เจ้าเหมียวต้องใช้ในวัยนี้เป็นสำคัญ
การพาน้องแมวขับถ่าย
การขับถ่ายลูกแมวเขายังไม่สามารถขับถ่ายเองได้นะครับ ในช่วงแรก ๆ เราอาจจะต้องพาน้องขับถ่ายอยู่ประมาณ 1 เดือน หรืออาจจะนานกว่านั้น เราต้องพาน้องขับถ่ายทุกครั้งหลังหรือก่อนกินนม แต่ถ้าน้องกินนมบ่อยมากอาจจะพาขับถ่าย 2-3 ชม. ครั้งก็ได้ครับ งั้นมาเริ่มวิธีพาน้องขับถ่ายเลยครับ
ของที่ต้องเตรียม
- สำลี
- น้ำอุ่น
- ถุงสำหรับทิ้งอึหรือฉี่ของน้อง ๆ
เราจะนำสำลีชุบน้ำอุ่น ๆ มาเช็ดที่ก้นน้องครับ อาจจะเช็ดอยู่สักระยะจนกว่าน้องจะขับถ่าย พอน้องขับถ่ายเสร็จให้นำสำลีชุบน้ำอุ่น ๆ มาเช็ดหน้าเช็ดตาน้อง และก้นครับ เหมือนที่แม่แมวมักจะทำความสะอาดลูกแมวเสมอ ควรพาน้องขับถ่ายทุก ๆ วันนะครับ เพื่อเช็คสุขภาพของน้องไปด้วยในตัว ถ้ามีอาการถ่ายเหลวอาจจะต้องพาน้องไปหาหมอ สาเหตุที่ถ่ายเหลวมีได้หลายอย่าง