เลือกอาหารให้เหมาะกับสุนัขพันธุ์ชิสุ

เลือกอาหารให้เหมาะกับสุนัขพันธุ์ชิสุ น้องหมาชิสุมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงขนาดปาก และฟันที่เล็ก จึงต้องใส่ใจการกินเป็นพิเศษ คือไม่ควรกินข้าวโพด ถั่วเหลือง ธัญพืช อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารชิ้นเล็ก ๆ น้องมีนิสัยเลือกกินตามลักษณะสายพันธุ์ ถ้าจะเปลี่ยนอาหารต้องใช้เวลา 5 วันโดยประมาณโดยค่อย ๆเปลี่ยนอาหารครั้งล่ะไม่เยอะ


ประวัติของสุนัขพันธุ์ชิสุ



น้องหมาชิสุ มีอีกชื่อว่า “ซือจื่อ” ตามหลักการอ่านของภาษาจีน ซึ่งมีความหมายว่า สิงโต  โดยถิ่นกำเนิดของน้อง ๆ อยู่ที่แถบทิเบต ซึ่งพระทิเบตได้มอบน้องหมาชิสุให้พระนางซูสีไทเฮา ในช่วงราชวงศ์ชิง เป็นของกำนัล และกลายเป็นสุนัขสายพันธุ์ชนชั้นสูงในราชวงศ์จีน จนได้รับความนิยมทั่วประเทศจีนในเวลาต่อมา 

ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชิสุได้เป็นที่รู้จักในแถบดินแดนยุโรปกันมากขึ้น ด้วยจุดเด่นแสนน่ารักที่มีขนยาว ๆ ที่หน้าและถูกรวบมัดเป็นจุก และได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์โดย American Kennel Club ครั้งแรกใน ช่วงค.ศ. 1969 โดยจัดให้อยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์เล็กหรือ Toy Group


ข้อบกพร่องของสุนัขพันธ์ชิสุ

ข้อบกพร่องของสุนัขพันธุ์ชิสุที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club

(สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้ 

           – ศีรษะแคบเกินไป

            – ฟันบนเกยฟันล่าง

            – ขนสั้น หรือขนที่ได้รับการขลิบให้สั้น

            – จมูกหรือหนังบริเวณขอบตาสีชมพู

            – ดวงตามีขนาดเล็กหรือมีสีจาง

            – ขนบาง ไม่ดกหนา

            – มุมหักตรงช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูกและหน้าไม่เด่นชัด


ลักษณะนิสัยสุนัขพันธุ์ชิสุ

ถึงแม้ลักษณะภายนอกชิสุ จะดูตัวเล็ก น่ารัก ขี้เล่น แท้จริงแล้วน้อง ๆ จะมีอารมณ์ศิลปินและความเอาแต่ใจเล็ก ๆ ตามสัญชาติญาณที่ถูกเลี้ยงมาโดยชนชั้นสูง แต่จะเป็นความเอาแต่ใจที่ดูน่าหมั่นเขี้ยว โดยน้องชิสุจะมีชีวิตชีวา เป็นมิตร และกะตือรือร้นต่อเจ้านายและมนุษย์ที่น้อง ๆ รู้สึกผูกพันธุ์ด้วย แต่ในทางกลับกันถ้าพวกมันเพิ่งพบปะคนใหม่ ๆ ที่วางท่าทีไม่น่าไว้ใจ ก็อาจพบพฤกติกรรมก้าวร้าวได้ในบางครั้ง แถมที่สำคัญ น้องหมาชิสุ รักและหวงเจ้านายของตัวเองมาก ๆ ถ้าเห็นใครพยายามจะแย่งความรักไปจากพวกมัน พวกมันจะแสดงอาการเอาแต่ใจทันที ถือเป็นอีกหนึ่งมุมที่น่ารักของน้องชิสุ แต่ก็ควรรับการขัดเกลาพฤกติกรรมเพื่อลดความก้าวร้าวเช่นกัน


อาหารที่เหมาะสมสำหรับสุนัขสายพันธุ์ชิสุ

ค่าเฉลี่ยของน้องหมาชิสุอยู่ที่ 4.5 – 7.5 กิโลกรัม โดยน้องชิสุมีแนวโน้มที่จะอ้วนง่าย ทาสหมาอย่างเราจึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะกับช่วงอายุและน้ำหนักตัว และไม่ฝึกให้กินขนมหรืออาหารพร่ำเพรื่อ เพราะถ้าน้อง ๆ อ้วนขึ้นมา อาจส่งผลต่อระบบหายใจและการเคลื่อนไหวในช่วงสูงวัยได้


อาหารที่เหมาะกับชิสุ ช่วงอายุ 1-3 เดือน

ในช่วงเด็ก ๆ น้องหมาชิสุจะยังฟันไม่ค่อยแข็งแรงและมีระบบขับถ่ายที่แปรปรวนกว่าชิสุโตเต็มวัย ดังนั้นทาสหมาควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย โดยให้ผสมอาหารเม็ดกับน้ำหรือนมอุ่น ๆ และจะต้องเป็นนมแพะเท่านั้น ถ้าหากเป็นนมวัวอาจทำให้น้อง ๆ ท้องเสีย เพราะชิสุบางตัวร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้


อาหารที่เหมาะกับสุนัขพันธุ์ชิสุ โตเต็มวัย อายุ 1 ปีขึ้นไป

เมื่อน้องชิสุโตเต็มวัย ให้ปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารเป็น 35 แคลเลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 0.45 กิโลกรัม และจำกัดขนมหรืออาหารที่เน้นแป้งหรือน้ำตาลสูง ซึ่งจะทำให้น้อง ๆ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ที่สำคัญทาสหมาต้องอดใจห้ามให้น้อง ๆ กินอาหารคนเด็ดขาด เพราะร่างกายน้อง ๆ ไม่สามารถย่อยหรือนำสารอาหารจากอาหารคนไปใช้ได้ และส่งผลให้น้อง ๆ ขนไม่สวย ขนร่วง ซึ่งสำหรับชิสุแล้ว ขนเปรียบเสมือนมงกุฏประจำตัวที่ทำให้น้อง ๆ รู้สึกมั่นใจเลยทีเดียว


อาหารที่เหมาะกับสุนัขชิสุ สูงวัย อายุ 7 ปีขึ้นไป

เมื่อน้องหมาชิสุอายุมากขึ้น จะมีระบบการเผาผลาญที่เสื่อมสภาพลง ไม่สามารถกินอาหารในปริมาณเยอะ ๆ หรืออัดแน่นเท่าช่วงเต็มวัยได้ โดยให้ลดปริมาณเหลือเพียง 30 แคลเลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 0.45 กิโลกรัม และเน้นไปที่โปรตีนจากเนื้อสัตว์ใหญ่ให้น้องลง และหันมาทานจำพวกผัก ปลา รวมถึงวิตามินแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อการบำรุงสุขภาพโดยรวมให้มากขึ้น


โรคที่ต้องระวังในสุนัขสายพันธุ์ชิสุ


สุนัขพันธุ์ชิสุ


โดยรวมแล้ว น้องหมาชิสุส่วนใหญ่จะมีสุขภาพแข็งแรงเป็นทุนเดิม แต่มีบางพฤกติกรรมและการเลี้ยงดูที่ต้องระวังเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อพบอาการผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อวางแผนการรักษาให้น้อง ๆ สุขภาพดีในระยะยาว

  • โรคเชอร์รี่ อาย (Cherry Eye) พบได้ในสุนัขที่มีเบ้าตาโต อย่างเช่นบีเกิ้ล ชิวาว่า บูลด็อก และชิสุ โดยจะพบความผิดปกติบริเวณต่อมใต้น้ำตาที่ขยายใหญ่ขึ้นและโผล่ออกมา โดยเป็นติ่งเนื้อแดง ๆ โผล่ออกมานอกดวงตา เมื่อน้องชิสุระคายเคืองตาแล้วไปเกาตาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อได้
  • โรคหลอดลมตีบ เมื่อน้องชิสุน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จะมีความเสี่ยงที่เป็นโรคหลอดลมตีบ โดยจะมีอาการไอแห้งเสียงคล้ายห่านในเวลาตื่นเต้นหรือเห่าเยอะเกินไป ซึ่งจะมีทั้งอาการแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เมื่อพบอาการให้รีบพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา
  • โรคผิวหนัง แม้ชิสุจะมีขนยาวหนา แต่น้อง ๆ มีผิวหนังที่บอบบางและแพ้ง่าย โดยโรคผิวหนังเบื้องต้นจะพบในน้องหมาที่มีผิวแดง ผื่นคัน หรือบางครั้งจะพบเป็นบริเวณตุ่มหนองตามจุดต่าง ๆ เมื่อน้อง ๆ เกาหรือเลียจะทำให้ผิวอักเสบกว่าเดิม จึงควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อและแก้อักเสบเพื่อรักษาตามอาการ และวางแผนอาหารการกินและปรับพฤกติกรรมการใช้ชีวิตของน้อง ๆ ใหม่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://www.gotoknow.org

https://www.yorapetfoods.in.th

https://www.dogilike.com